การวิเคราะห์เปรียบเทียบเชิงบูรณาการหลักสูตรวิชาพระพุทธศาสนากับวิชาที่เกี่ยวข้องในระดับประถมและมัธยมศึกษา

 

A Comparative Study of Subjects in Primary and Secondary Education Curricula in connection to Buddhist Issues.

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดนัย ปรีชาเพิ่มประสิทธิ์

 

Assistant Professor Danai Preechapermprasit

 

DOWNLOAD งานวิจัยฉบับเต็ม

 

 

บทคัดย่อ

 

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เห็นข้อดีข้อเสียของหลักสูตรวิชาที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาหลักสูตรต่างๆ และเพื่อนำข้อดีของหลักสูตรต่างๆ มานำเสนอเป็นแนวทางในการวางหลักสูตรวิชาพระพุทธศาสนาและวิชาที่เกี่ยวข้อง โดยศึกษาเอกสารเกี่ยวกับหลักสูตรวิชาพระพุทธศาสนาและวิชาที่เกี่ยวข้องในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตั้งแต่หลักสูตรปี พ.ศ. 2492 – 2551 โดยกรอบการบูรณาการที่จะใช้ในการวิจัยนี้จะพิจารณาจาก 1) การบูรณาการภายในสาขาวิชาว่ามีการสร้างความสัมพันธ์ภายในวิชาใดวิชาหนึ่งเพื่อให้เนื้อหาที่กำหนดไว้เป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ 2) การบูรณาการระหว่างสาขาวิชาว่าเนื้อหาจากหลายสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกันในเรื่องนั้นกว้างขวางครอบคลุมมากขึ้นหรือไม่ โดยเป็นการบูรณาการระหว่างความรู้และการกระทำด้วย ส่วนเกณฑ์การตัดสินการบูรณาการในพระพุทธศาสนาก็คือเรื่องไตรสิกขาคือศีล สมาธิและปัญญาที่มีการประมวลหน่วยย่อย องค์ประกอบ ของหมวดธรรมต่างๆ เข้าด้วยกันโดยมีความสัมพันธ์เชื่อมโยง อิงอาศัยซึ่งกันและกัน ยืดหยุ่น ปรับตัวได้ มีความเคลื่อนไหวตลอดเวลาและเมื่อรวมเข้าด้วยกันแล้วก็จะเกิดความครบถ้วนบริบูรณ์โดยมีความประสานกลมกลืน เกิดภาวะได้ที่พอดีหรือสมดุล จะเห็นว่ากรอบทั้งสองนี้มีจุดเชื่อมโยงกันอยู่คือการบูรณาการระหว่างความรู้และการกระทำซึ่งสอดคล้องกับหลักเรื่องปริยัติและปฏิบัติ

 

ผลการศึกษาพบว่าหลักสูตรในอดีตจะเน้นการบูรณาการเรื่องปริยัติและปฏิบัติมากกว่าหลักสูตรใหม่ๆ คือไม่เพียงแต่สอนด้านทฤษฎีแต่มุ่งผลไปถึงการลงมือทำจริง หลักสูตรยุคแรกจะเน้นเรื่องศีลมากกว่าเรื่องอื่นๆ แต่ต่อมามีการเพิ่มเรื่องสมาธิและปัญญา แต่โดยภาพรวมจะเห็นได้ว่ามีเรื่องเกี่ยวกับสมาธิน้อย ส่วนเรื่องปัญญานั้นหลักสูตรเก่าจะเน้นการสร้างให้เกิดขึ้นจริงแต่หลักสูตรใหม่จะเน้นเรื่องปริยัติมากกว่าและเป็นที่น่าสังเกตว่าวิชาภาษาไทยในหลักสูตรเก่าๆ จะบูรณาการเรื่องปัญญาสิกขาได้มากกว่าวิชาพระพุทธศาสนาและยังเน้นการบูรณาการกับการปฏิบัติได้มากกว่า อย่างไรก็ดี หลักสูตรในอดีตจะเห็นการบูรณาการเชื่อมโยงระหว่างวิชาได้ดีและครอบคลุมมากกว่าหลักสูตรใหม่ๆ โดยอาศัยหนังสืออ่านเสริมประสบการณ์เป็นส่วนเสริม แม้ว่าจะมีการบูรณาการวิชาพระพุทธศาสนาทั้งภายในวิชาและนอกวิชา แต่หากสังเกตเรื่องการบูรณาการในไตรสิกขาก็จะพบว่าหลักสูตรเกือบทั้งหมดจะเน้นเฉพาะเรื่องศีลเท่านั้น โดยสมาธิสิกขาขาดมากที่สุดในทุกหลักสูตร ด้วยเหตุนี้การบูรณาการในมุมมองของพระพุทธศาสนาย่อมไม่สมบูรณ์และถึงแม้ว่าบางหลักสูตรจะมีการบูรณาการที่อาจจะครบหลักไตรสิกขาแต่เมื่อพิจารณาไปถึงการปฏิบัติก็จะพบว่ามีการบูรณาการเข้ากับการปฏิบัติแต่เพียงบางสิกขาเท่านั้น ดังนั้นในหลักสูตรการศึกษาที่ผ่านมาเกือบทั้งหมดจึงไม่เป็นการบูรณาการตามหลักปริยัติและปฏิบัติอย่างสมบูรณ์ อย่างไรก็ดี ไม่มีหลักประกันว่าหลักสูตรบูรณาการจะถูกนำไปจัดเป็นการเรียนการสอนแบบบูรณาการด้วยเสมอไป

 

 

Abstract

 

This research paper is intended to expound the pros and cons of Buddhist study curricula in primary and secondary education. It also proposes a set of guidelines in designing Buddhist study curricula by analyzing the Buddhist education system during 1949 – 2008. The scope of the study includes 1) Comparative analysis within the subject of Buddhism to find whether the relationships of different context are going in the same direction and 2) Analysis of other subjects to find whether different context altogether provides a greater coverage of Buddhism. The paper also discusses the relationship of knowledge and behavior. The basis for the comparison in Buddhism is the Threefold Learning (Sikkha) or morality (Sila), concentration (Samadhi) and wisdom (Panya) that are compiled at detailed levels. The three learnings are all dependent, relevant, adaptable and flowing in one complete harmony and creating balance. Both aspects of the scope have their meeting point where knowledge and behavior coincide, which is similar to the nature of the Scriptures and practice.

 

The study found that the old curricula had focused on the Scriptures and practice more than modern days’ curricula. It covered not only the theories, but also the how-to. The earlier curricula also emphasized the Sila under the Threefold Learning and, though very little coverage on Samadhi, it did underline methods to cultivate true wisdom. It is worth noting that the Thai language classes in the earlier days had a broader integration with the training in higher wisdom (Panyasikkha) than the subject of Buddhism itself. The old curricula also rely more on additional readings. The newer curricula focus more on the Scriptures than anything and have less integration with other subjects. In both old and new curricula, however, the training in concentration (Samadhisikkha) is lacking. From the perspective of Buddhism, the curricula are not as complete when considering the practice aspect of the training. As a result, it can be concluded that all of the education curricula has had only partial ingetration into the Buddhist Scriptures and practice. There is no guarantee that the integrated study can be designed to fit into school’s curricula.